วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คีตกวีไทย

พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก)

 พระประดิษฐ์ไพเราะ เป็นครูดนตรีไทยคนสำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 3-5 คนทั่วไปมักเรียกท่านว่า ครูมีแขก สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงสืบประวัติไว้ว่า ครูปี่พาทย์ชื่อครูมีแขกนั้น คือเป็นเชื้อแขก ชื่อ"มี"เป็นคีตกวีคนแรกที่นำเพลง 2 ชั้น มาทำเป็นเพลงสามชั้น มีความสามารถในการแต่งเพลง และฝีมือในทางเป่าปี่ เป็นเยี่ยม โดยเฉพาะเพลงเด่นที่สุดคือ "ทยอยเดี่ยว" บ้างเรียกท่านว่า "เจ้าแห่งเพลงทยอย" ซึ่งหมายถึงเพลงที่มีเทคนิคการบรรเลงและลีลาที่พิสดาร โดยเฉพาะลูกล้อ ลูกขัดต่างๆ
อีกเพลงหนึ่งคือเพลง "เชิดจีน" เป็นเพลงที่ให้อารมณ์สนุกสนาน มีลูกล้อลูกขัด ที่แปลกและพิสดาร ท่านแต่งบรรเลงถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งได้รับการโปรดปรานมาก จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระประดิษฐ์ไพะเราะ" ตำแหน่งปลัดจางวางมหาดเล็ก ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เป็นครูมโหรีของกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร นอกจากมีความสามารถในการเป่าปี่แล้ว ครูมีแขกยังชำนาญในการสีซอสามสาย โดยได้แต่งเพลงเดี่ยวเชิดนอกทางซอสามสายไว้ด้วยบทเพลงจากการประพันธ์ของท่านคือ เพลงจีนแส อาเฮีย แป๊ะ ชมสวนสวรรค์ การะเวกเล็ก แขกบรเทศ แขกมอญ ขวัญเมือง เทพรัญจวน พระยาโศก จีนขิมเล็ก เชิดในสามชั้น (เดี่ยว) ฯลฯ
สมัย ร.4  เจ้านายหลายพระองค์รวบรวมคนหัดปี่พาทย ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับ
พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่พระประดิษฐ์ไพเราะ ตำแหน่งปลัดจางวางมหาดเล็ก ได้ว่ากรมปี่พาทย์ฝ่ายพระบรมมหาราชวัง
สมัย ร.5 ท่านได้เป็นครูมโหรีของกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร
ถึงแก่กรรม
นสมัยรัชกาลที่  5 ประมาณ ระหว่าง  พ.ศ. 2417-2421
ในการที่จะค้นคว้า หรือสืบให้ทราบเป็นที่แน่ชัดว่า พระประดิษฐไพเราะ (ครูมีแขก) เกิด วัน เดือน ปี อะไรนั้น ออกจะเป็นสิ่ง ทำได้ยาก ทราบแต่เพียงว่า
                ๑.     ครูมีแขก เป็นครูดนตรีมาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๓ จนถึงในรัชกาลที่ ๕
                ๒.    สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเคยเห็นพระประดิษฐไพเราะขณะที่สมเด็จกรมพระ ยาดำรงฯ ทรงไว้พระเมาลีสมเด็จกรมพระยาดำรงประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๐๕
                ๓.     ครูมีแขก เป็นครูของครูสิน ศิลปบรรเลง บิดาของหลวงหลวงประดิษฐ ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)  หลวงประดิษฐไพเราะเกิดเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๔๒๔
                ๔.     ครูมีแขกได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่หลวงประดิษฐไพเราะเมื่อวันที่ ๒๑ พ ฤศจิกายน ๒๓๙๖ และได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็น พระประดิษฐไพเราะ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๓๙๖
 
 
พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)
 
เป็นบุตรคนโตของขุนกนกเรขา (ทองดี) กับนางนิ่ม เกิดเมื่อ วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2403  ตรงกับวันอังคาร ณ บ้านเลขที่ 81 ตรอกไข่ ถนนบำรุงเมือง ตำบลหลังวัดเทพธิดา กรุงเทพมหานคร  ท่านได้เรียนปี่ชวากับครูชื่อ “หนูดำ” ส่วนวิชาดนตรีปี่พาทย์อย่างอื่น ได้ศึกษาอย่างจริงจังกับครูช้อย สุนทรวาทิน (บิดาของ พระยาเสนาะดุริยางค์ ) จนบรรลุแตกฉาน ท่านเข้ารับราชการ ตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระยศเป็นพระยุพราช ได้ทูลขอพระราชทานบรรดาศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้นายแปลกเป็นที่ “ขุนประสานดุริยศัพท์" นับจากนั้นก็ได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์มาเป็นลำดับ จนได้เป็นที่ “พระยาประสานดุริยศัพท์” เจ้ากรมปี่พาทย์หลวง ในสมัยรัชกาลที่ 6
 
ความรู้ความสามารถของพระยาประสานดุริยศัพท์นั้น เป็นที่กล่าวขวัญเรื่องลือว่า ท่านเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยฝีมือ ความรู้ ปฏิภาณ ไหวพริบ ท่านเป็นครู และเป็นศิลปินที่หาได้ยากยิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2428 ท่านได้รับเลือกให้ไปร่วมฉลองครบรอบร้อยปีของพิพิธภัณฑ์เมืองอวิมปลีย์ที่ประเทศอังกฤษ ผลของการบรรเลงขลุ่ยของท่านเป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับรับสั่งขอฟังเพลงขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์ในพระราชวังบัคกิ้งแฮมอีกครั้ง การบรรเลงครั้งหลังนี้สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียทรงลุกจากที่ประทับ และใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯ พร้อมทั้งรับสั่งถามว่า เวลาเป่านั้นหายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอด
    พระยาประสานดุริยศัพท์ได้แต่งเพลงไว้ดังนี้คือ เพลงเชิดจั่น 3 ชั้น พม่าหัวท่อน เขมรราชบุรี ลาวคำหอม ลาวดำเนินทราย เขมรทรงดำเนิน (เขมรกล่อมพระบรรทม) เขมรปากท่อ เขมรใหญ่ ดอกไม้ไทร ถอนสมอ ทองย่อน เทพรัญจวน นารายณ์แปลงรูป แมลงภู่ทอง สามไม้ใน อาถรรณ์ คุณลุงคุณป้า พราหมณ์เข้าโบสถ์ ธรณีร้องไห้ มอญร้องไห้ แขกเห่ อนงค์สุดา วิเวกเวหา แขกเชิญเจ้าย่องหวิด 3 ชั้น เป็นต้น
   ความสามารถทางดนตรีของท่านนั้น ทำให้ท่านมีลูกศิษย์ที่มีความสามารถเป็นทวีคูณขึ้นไป และศิษย์ของท่านเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือ พระประดับดุริยกิจ (แหยม วิณิณ) พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต) หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) หลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน) พระยาภูมิเสวิน (จิตร จิตตเสรี) อาจารย์มนตรี ตราโมท ครูเฉลิม บัวทั่ง เป็นต้น
  พระยาประสานดุริยศัพท์ ป่วยโดยโรคชรา และถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 65 ปี เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2467
  ผลงานเพลงที่สำคัญได้แก่ เพลงเขมรปากท่อเถา เขมรราชบุรีสามชั้น ธรณีร้องไห้สามชั้น (ธรณีกันแสง) พม่าห้าท่อนสามชั้น วิเวกเวหาสามชั้น แขกเชิญเจ้าสองชั้น
 
 
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง)
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ  เกิดเมื่อวันที่ 6  สิงหาคม 2424  ที่คลองดาวดึงษ์  อำเภอเมืองสมุทรสงคราม
มีชื่อเดิมว่า" ศร ศิลปบรรเลง"  เป็นบุตรนายสิน  ศิลปบรรเลง ครูปี่พาทย์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด
สมุทรสงคราม กับนางยิ้ม ศิลปบรรเลง ในวัยเด็กเมื่ออายุ 11 ปีนั้นได้เริ่มเรียนดนตรีอย่างจริงจังกับบิดา ต่อมาสมเด็จเจ้าฟ้ากรม
พระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเวช  รับสั่งให้เรียนดนตรีกับครูดนตรีมีชื่ออีกหลายท่าน  จนกระทั่งมีความสามารถเป็นที่
ยอมรับจึงเข้าเป็นนักดนตรีประจำวง " บูรพาภิรมย์" และได้รับตำแหน่งจางวางมหาดเล็กในพระองค์จากสมเด็จ
เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเวช  เมื่อคราวเดี่ยวเพลงกราวถวาย  พร้อมกับแหวนเพชรเป็นรางวัล ในความ
เป็น ยอดฝีมือตีระนาดที่หาตัวจับยาก  หลังจากนั้นได้รับชัยชนะจากการประชันวงกับระนาดฝีมือเอก   ด้วยเพลง
"กราวในทางฝัน" (คือฝันไปว่าครูเทวดามาต่อเพลงให้)จึงทำให้มีชื่อเสียงโด่งดังมากกว่าครูปี่พาทย์ซึ่งเป็นบิดา
จนชื่อจางวางศร เป็นที่ติดปากของคนทั่วไป และไม่เพียงแต่มีฝีมือสุดยอดในการตีระนาดเท่านั้น                  เครื่องดนตรี
ชนิดอื่น ก็สามารถจะบรรเลงได้อย่างไม่แพ้ใครไม่ว่าจะเป็น  ซอหรือปี่  ที่สามารถค้นหาวิธีการเป่าปี่ให้มีเสียงสูงขึ้นกว่าปกติถึง 2 เสียง โดยผันลงต่ำได้ทันที   นอกจากนั้นยังสามารถแต่งเพลงได้อย่างรวดเร็วและฉับพลัน    มีกลเม็ดเด็ดพรายอย่างเหนือชั้น นสมัยที่รับราชการอยู่วังบูรพาภิรมย์นั้น มีการประกวดประชันเพลงที่แต่งใหม่บ่อยครั้ง ทั้งเพลงสามชั้น เพลงเดี่ยวโดยเฉพาะการประกวดสมองในการคิดประดิษฐ์ทางรับ  คือการนำเพลงที่ไม่เคย รู้จักมาร้องส่ง ให้ปี่พาทย์รับ ซึ่งจางวางศร ก็สามารถนำวงรอดไปได้ทุกครั้งด้วยปฏิภาณไหวพริบเฉียบขาดแม้แต่เพลง ่ยาวที่ยาวถึง 10 จังหวะเช่นเพลง คุณลุงคุณป้า ซึ่งภายหลังท่านได้ปรับปรุงเป็นเพลงอะแซหวุ่นกี้ ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตรการบรรเลงเพลงที่จางวางศรเป็นต้นตำรับประดิษฐ์คิดค้น และบรรเลงเป็นครั้งแรกขึ้นในพิธีเปิดประตูท่าหลวง ที่จังหวัดสระบุรี  คือเพลงทางเปลี่ยน  ซึ่งเป็นการบรรเลงเพลงเดียวกันไม่ให้ซ้ำกันในแต่ละเที่ยว  เมื่อการบรรเลงสิ้นสุดลง  พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสชมเชยยกย่องความสามารถในศิลปะการดนตรี   จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ   พระราชทานบรรดาศักดิ์   ให้เป็น" หลวงประดิษฐ์ไพเราะ" นับตั้งแต่นั้นมาหลวงประดิษฐ์ไพเราะมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสรรสร้างผลงานไว้เป็น
สมบัติแก่ลูกหลานมากมาย  ด้วยฝีมือชั้นครูที่มีลีลาในการเล่นและแต่งเพลงที่ยอดเยี่ยมหาคนเปรียบเทียบได้ยาก
มากจนถึงวันที่ 8 มีนาคม 2497 เวลา 19.45 น. รวมอายุได้ 74 ปีเศษจึงสิ้นชีวิตลง พร้อมกับสิ้นยุคดนตรีไทย
ฟูเฟื่อง
ที่สุดไปด้วยท่านได้ฝากผลงานไว้จนถึงปัจจุบันมากมาย  เช่น คิดโน๊ตตัวเลขสำหรับเครื่องดนตรีไทยขึ้น
จนได้รับการปรับปรุงใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้  และยังได้ประดิษฐ์เพลงที่มีท่อนนำ (INTRODUCTION) ขึ้น
เป็นต้นตำรับการบรรเลงดนตรีไทย  , ต้นตำรับการเปลี่ยนเพลงเป็นทางต่างๆ  , ต้นตำรับเพลงกรอที่อ่อนหวาน
ไพเราะ, เดี่ยวระนาด 2 รางด้วยลีลาที่เหมาะสม, บรรเลงและแต่งเพลง 4 ชั้น รวมถึงเป็นผู้นำอังกะลุงของชวา
เข้ามาในเมืองไทยอีกด้วย  นอกจากนั้นยังได้แต่งบทเพลงไว้หลายบท  เช่น กระแตไต่ไม้โหมโรง, เขมรราชบุรี
สามชั้น, เขมรปากท่อเถา,แขกสาหร่ายเถา,แสนคำนึงเถา, นกเขาขะแมร์เถา, ลาวเสี่ยงเทียนเถา,ภิรมย์สุรางค์เถา
พราหมณ์ดีดน้ำเต้า, และอื่นๆ อีกมากมาย
 

วงมโหรี

วงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีผสมทั้งดีด สี ตี เป่า เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงเพื่อขับกล่อม ไม่นิยมบรรเลงในการแสดงใด ๆ
วงมโหรีมี 5 แบบ คือ
1. วงมโหรีเครื่องสี่ เป็นวงมโหรีที่รวมเอาการบรรเลงพิณและการขับไม้ ซึ่งมีมาแต่โบราณเข้าด้วยกัน เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยอยุธยา มีเครื่องดนตรี 4 ชิ้น คือ
1.1 ทับ (ปัจจุบันเรียกว่า โทน) เป็นเครื่องควบคุมจังหวะ
1.2 ซอสามสาย
1.3 กระจับปี่
1.4 กรับพวง (ผู้ขับร้องเป็นผู้ตีกรับพวง)
วงมโหรีเครื่องสี่นี้เดิมผู้ชายเป็นผู้บรรเลง ต่อมาเมื่อนิยมฟังมโหรีกันแพร่หลาย ผู้มีบรรดาศักดิ์จึงนิยมให้ผู้หญิงฝึกหัดบรรเลงบ้างและได้รับความนิยมสืบต่อมา


2. วงมโหรีเครื่องหก คือ วงมโหรีเครื่องสี่ซึ่งเพิ่มเครื่องดนตรีอีก 2 อย่าง คือ รำมะนา สำหรับตีกำกับจังหวะคู่กับทับ และขลุ่ย (ปัจจุบันเรียกว่า ขลุ่ยเพียงออ) สำหรับเป่าดำเนินทำนอง และเปลี่ยนใช้ฉิ่งแทนกรับพวง นับเป็นการบรรเลงที่มีเครื่องดนตรีครบทั้งดีด สี ตี และเป่า
เกิดขึ้นในตอนปลายสมัยอยุธยา


3. วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก คือ วงมโหรีที่ได้เพิ่มเครื่องดนตรีและเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ครั้งแรกเพิ่มระนาดเอกและฆ้องวง (ภายหลังเรียกว่า ฆ้องกลางหรือฆ้องมโหรี) (ดู ฆ้องมโหรี ประกอบ) ต่อมาจึงได้เพิ่มซอด้วงและซออู้ ส่วนกระจับปี่นั้นเปลี่ยนเป็นใช้จะเข้แทน เนื่องจากเวลาบรรเลงจะเข้วางราบไปกับพื้น ซึ่งต่างกับกระจับปี่ที่ต้องตั้งดีด ทั้งนมที่ใช้รองรับสายและบังคับเสียงก็เรียงลำดับมีระยะเหมาะสมกว่ากระจับปี่ เวลาบรรเลงจึงทำให้ใช้นิ้วดีดได้สะดวกและแคล่วคล่องกว่า นอกจากนี้จะเข้ยังสามารถทำเสียงได้ดังและทำเสียงได้มากกว่ากระจับปี่
ปัจจุบันวงมโหรีเครื่องเดี่ยวประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้
1.ซอสามสาย 1 คัน ทำหน้าที่คลอเสียงผู้ขับร้อง และบรรเลงดำเนินทำนองร่วมในวง
2. ซอด้วง 1 คัน ดำเนินทำนองโดยเก็บบ้าง หวานบ้าง
3.ซออู้ 1 คัน ดำเนินทำนองเป็นเชิงหยอกล้อยั่วเย้าไปกับทำนองเพลง
4.จะเข้ 1 ตัว ดำเนินทำนองโดยเก็บบ้าง รัวบ้าง และเว้นห่างบ้าง
5.ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา ดำเนินทำนองเก็บบ้าง โหยหวนบ้าง
6.ระนาดเอก 1 ราง ดำเนินทำนองเก็บบ้าง กรอบ้าง ทำหน้าที่เป็นผู้นำวง
7.ฆ้องวง (เรียกว่า ฆ้องกลางหรือฆ้องมโหรี) 1 วง ดำเนินทำนองเนื้อเพลงเป็นหลักของวง
8.โทน 1 ลูก รำมะนา 1 ลูก ตีสอดสลับกัน ควบคุมจังหวะหน้าทับ
9.ฉิ่ง 1 คู่ ควบคุมจังหวะย่อย แบ่งให้รู้จังหวะหนักเบา


4. วงมโหรีเครื่องคู่ คือ วงมโหรีเครื่องเดี่ยวที่ได้เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กเข้าในวง ทั้งนี้เนื่องด้วยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วงปี่พาทย์ได้เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กรวมเรียกว่า วงปี่พาทย์เครื่องคู่ วงมโหรีจึงเพิ่มเครื่องดนตรีดังกล่าวบ้าง นอกจากนั้นยังเพิ่มซอด้วงและซออู้ขึ้นเป็นอย่างละ 2 คัน เพิ่มจะเข้เป็น 2 ตัวขลุ่ยนั้นเดิมมีแต่ขลุ่ยเพียงออ จึงเพิ่มขลุ่ยหลีบอีก 1 เลา ส่วนซอสามสายก็เพิ่มซอสามสายหลีบอีก 1 คัน และเพิ่มฉาบเล็กอีก1 คู่ด้วย
ปัจจุบันวงมโหรีเครื่องคู่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้
ซอสามสาย 1 คัน หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
ซอสามสายหลีบ 1 คัน บรรเลงร่วมกับเครื่องดำเนินทำนองอื่น ๆ
ซอด้วง 2 คัน หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
ซออู้ 2 คัน หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
จะเข้ 2 ตัว หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
ขลุ่ยหลีบ 1 เลา ดำเนินทำนองเก็บบ้าง โหยหวนบ้าง สอดแทรกทำนองเล่นล้อไปทางเสียงสูง
ระนาดเอก 1 ราง หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
ระนาดทุ้ม 1 ราง ดำเนินทำนองเป็นเชิงหยอกล้อยั่วเย้าให้เกิดอารมณ์ครึกครื้น
ฆ้องวง 1 วง หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
ฆ้องวงเล็ก 1 วง ดำเนินทำนองเก็บถี่ ๆ บ้าง สะบัดบ้าง สอดแทรกทำนองไปทางเสียงสูง
โทน 1 ลูก รำมะนา 1 ลูก หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
ฉิ่ง 1 คู่ หน้าที่เหมือนในวงมโหรีเครื่องเดี่ยว
ฉาบเล็ก 1 คู่



ขอขอบคุณ : http://www.thaigoodview.com/node/31727

วงเครื่องสาย

วงเครื่องสาย ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย อันได้แก่เครื่องสี (ซอด้วงและซออู้) และเครื่องดีด (จะเข้) เป็นหลัก มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า (ขลุ่ย) เป็นส่วนประกอบ ใช้โทนรำมะนาบรรเลงจังหวะหน้าทับ และใช้ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ร่วมบรรเลงประกอบจังหวะ วงเครื่องสายเป็นวงดนตรีประเภทที่ใช้บรรเลงขับกล่อมเพื่อความบันเทิงเริงรมย์ เหมาะสำหรับการบรรเลงในอาคาร นิยมใช้บรรเลงในงานมงคล เช่น พิธีมงคลสมรสและงานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น และมิได้ใช้บรรเลงสำหรับประกอบการแสดงนาฏศิลป์

๑. วงเครื่องสายไทย
  วงเครื่องสายไทย เป็นวงดนตรีที่เหมาะสำหรับการบรรเลงในอาคาร ในลักษณะของการขับกล่อมที่เป็นพิธีมงคล เช่น พิธีมงคลสมรสและงานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น วงเครื่องสายไทยนี้มักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า “วงเครื่องสาย” มีอยู่ ๒ ขนาด คือ วงเครื่องสายวงเล็กและวงเครื่องสายเครื่องคู่
๑.๑ วงเครื่องสายวงเล็ก ประกอบด้วย เครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายและเป่าอย่างละหนึ่งเครื่อง ดังนี้
 
จะเข้ ๑ ตัว ซออู้ ๑ ตัว ซอด้วง ๑ ตัว ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา ฉิ่ง โทน-รำมะนา ๑ คู่ ฉาบ กรับ โหม่ง ๑ ใบ
๑.๒ วงเครื่องสายเครื่องคู่ วงเครื่องสายเครื่องคู่ประกอบด้วย เครื่องดนตรีที่อยู่ในวงเครื่องสายวงเล็กเป็นหลัก โดยเพิ่มจำนวนของเครื่องดนตรีประเภททำทำนองจากเครื่องมือละหนึ่งเครื่องเป็นสองเครื่องหรือเป็นคู่ ดังต่อไปนี้
จะเข้ ๒ ตัว ซออู้ ๒ ตัว ซอด้วง ๒ ตัว ขุล่ยเพียงออ ๑ เลา ขลุ่ย ๑ เลา ฉิ่ง กรับ ฉาบ โทน-รำมะนา ๑ คู่
โหม่ง ๑ ใบ


๒. วงเครื่องสายผสม

เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีอย่างที่สังกัดในวงเครื่องสายไทย เพียงแต่เพิ่มเอาเครื่องดนตรีที่อยู่นอกเหนือจากวงเครื่องสายไทย หรืออาจจะเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมือง หรือเครื่องดนตรีของต่างชาติก็ได้ มาบรรเลงร่วมด้วย เช่น ไวโอลิน ออร์แกน ขิม หีบเพลงชัก เปียโน ระนาด แคน (หรือแม้แต่ซอสามสายอันเป็นเครื่องสีก็ตาม) เป็นต้น ซึ่งเครื่องดนตรีที่นำมาผสมนั้นต้องคำนึงถึงคุณลักษณะของเสียงด้วยว่ามีความกลมกลืนมากน้อยเพียงใด

การเรียกชื่อวงจะเรียกตามตามเครื่องดนตรีที่นำมาผสม เช่น ถ้านำขิมมาบรรเลงร่วมก็จะเรียกว่า วงเครื่องสายผสมขิม ถ้าหากนำออร์แกนมาบรรเลงร่วม ก็เรียกว่า วงเครื่องสายผสมออร์แกน ฯลฯ สำหรับโอกาสในการบรรเลงนั้น มีลักษณะเช่นเดียวกับวงเครื่องสายไทยทุกประการ
   เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีอย่างที่สังกัดในวงเครื่องสายไทย เพียงแต่เพิ่มเอาเครื่องดนตรีที่อยู่นอกเหนือจากวงเครื่องสายไทย หรืออาจจะเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมือง หรือเครื่องดนตรีของต่างชาติก็ได้ มาบรรเลงร่วมด้วย เช่น ไวโอลิน ออร์แกน ขิม หีบเพลงชัก เปียโน ระนาด แคน (หรือแม้แต่ซอสามสายอันเป็นเครื่องสีก็ตาม) เป็นต้น ซึ่งเครื่องดนตรีที่นำมาผสมนั้นต้องคำนึงถึงคุณลักษณะของเสียงด้วยว่ามีความกลมกลืนมากน้อยเพียงใด
   การเรียกชื่อวงจะเรียกตามตามเครื่องดนตรีที่นำมาผสม เช่น ถ้านำขิมมาบรรเลงร่วมก็จะเรียกว่า วงเครื่องสายผสมขิม ถ้าหากนำออร์แกนมาบรรเลงร่วม ก็เรียกว่า วงเครื่องสายผสมออร์แกน ฯลฯ สำหรับโอกาสในการบรรเลงนั้น มีลักษณะเช่นเดียวกับวงเครื่องสายไทยทุกประการ

๓. วงเครื่องสายปี่ชวา
  ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยเป็นหลัก และนำเอาปี่ชวามาบรรเลงแทนขลุ่ยเพียงออ คงไว้แต่เพียงขลุ่ยหลิบซึ่งมีเสียงสูง และเปลี่ยนมาใช้กลองแขกบรรเลงจังหวะหน้าทับแทน วงเครื่องสายปี่ชวามี ๒ ขนาด คือ วงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็กและวงเครื่องสายปี่ชวาวงใหญ่
๓.๑ วงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็ก ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้
ปี่ชวา ๑ เลา ขลุ่ยหลิบ ๑ เลา ซอด้วง ๑ คัน ซออู้ ๑ คัน จะเข้ ๑ ตัวกลองแขก ๑ คู่ ฉิ่ง ๑ คู่

วงดนตรีไทย-วงปี่พาทย์

ดนตรีไทยมักเล่นเป็นวงดนตรี มีการแบ่งตามประเภทของการบรรเลงที่เป็นระเบียบมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันเป็น 3 ประเภท คือ

๑.วงปี่พาทย์
  ประกอบด้วยเครื่องตีเป็นสำคัญ เช่น ฆ้อง กลอง และมีเครื่องเป่าเป็นประธานได้แก่ ปี่ นอกจากนั้นเป็นเครื่อง วงปี่พาทย์ยังแบ่งไปได้อีกคือ วงปี่พาทย์ชาตรี,วงปี่พาทย์ไม้แข็ง,วงปี่พาทย์เครื่องห้า,วงปี่พาทย์เครื่องคู่,วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่,วงปี่พาทย์ไม้นวม,วงปี่พาทย์มอญ,วงปี่พาทย์นางหงส์

๑.๑ วงปี่พาทย์นางหงส์
    วงปี่พาทย์นางหงส์ คือวงปี่พาทย์ชนิดหนึ่งที่นำเอาวงปี่พาทย์ไม้แข็งมาประสมกับวงบัวลอย โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบดังนี้
  • ใช้กลองมลายูมาตีแทนตะโพนและกลองทัด(บางที่ก็ใช้กลองทัดแทนกลองมลายู)

  • ใช้ปี่ชวามาเป่าแทนปี่ใน

  • เอาฆ้องเหม่งออก เพราะมีฉิ่งเป็นตัวควบคุมจังหวะแล้ว

  •     เหตุที่ใช้ชื่อวงปี่พาทย์นี้ว่าวงปี่พาทย์นางหงส์ก็เนื่องจากเรียกตามชื่อเพลงที่เล่นคือเพลงเรื่องนางหงส์ โดยจะใช้เล่นเฉพาะงานอวมงคลเท่านั้น ปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่นิยม เพราะได้หันมานิยมวงปี่พาทย์มอญแทน
        วงปี่พาทย์นางหงส์ เดิมเป็นวงที่ใช้บรรเลงในงานศพของสามัญชน ต่อมาได้นำมาบรรเลงในงานสวดพระอภิธรรมศพเจ้านาย และใช้ในตอนถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระศพ เมื่อครั้งงานพระบรมศพของสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระประสงค์ให้นำวงปี่พาทย์นางหงส์ ของกรมศิลปากรมาประโคมย่ำยาม ต่อจากวงประโคมของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง จึงนับเป็นครั้งแรกที่ได้นำวงปี่พาทย์นางหงส์มาใช้ในงานพระบรมศพด้วย


    ๑.๒ วงปี่พาทย์เสภา
        วงปี่พาทย์เสภาเป็นวงดนตรีไทยชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒
    ในยุคแรกจะมีผู้ขับเสภาเป็นเรื่องราวต่างๆ พร้อมกับขยับกรับให้สอดประสานกับบทจนจบเร่อง ต่อมาได้มีดนตรีเข้ามาบรรเลงประกอบ แต่จะบรรเลงเฉพาะช่วงที่แสดงอารมณ์ต่างๆของตัวละคร ภายหลังได้นำบทเสภาบางตอนมาร้องส่งและให้วงปี่พาทย์รับ ในยุคต่อๆมา การขยับกรับเสภาที่เป็นเรื่องเป็นราวจึงค่อยๆหายไป คงเหลือแต่การนำบทเสภามาร้องส่งและให้วงปี่พาทย์รับ
        วงปี่พาทย์เสภาคล้ายกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง เพียงแต่เอาตะโพนกับกลองทัดออกและใช้กลองสองหน้าเป็นตัวกำกับหน้าทับแทน
    รูปแบบในการเล่น
    รูปแบบของการบรรเลงมีดังนี้
    1. รัวประลองเสภา
    2. โหมโรงเสภา(เช่นโหมโรงอัฐมบาท โหมโรงพม่าวัด ฯลฯ)
    3. เพลงพม่า 5 ท่อน
    4. เพลงจระเข้หางยาว
    5. เพลงสี่บท
    6. เพลงบุหลัน
    7. เพลงประเภทเพลงทยอย เช่นเพลงทยอยนอก แขกลพบุรี หรือไม่ก็ต่อด้วยเพลงตับเรื่องต่างๆ
    8. เพลงลาเช่นปลาทอง พระอาทิตย์ชิงดวง

    ปล.ยกตัวอย่างมาเพียง 2 วงปี่พาทย์ ต้องขออภัยด้วยนะครับ