วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วงดนตรีไทย-วงปี่พาทย์

ดนตรีไทยมักเล่นเป็นวงดนตรี มีการแบ่งตามประเภทของการบรรเลงที่เป็นระเบียบมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันเป็น 3 ประเภท คือ

๑.วงปี่พาทย์
  ประกอบด้วยเครื่องตีเป็นสำคัญ เช่น ฆ้อง กลอง และมีเครื่องเป่าเป็นประธานได้แก่ ปี่ นอกจากนั้นเป็นเครื่อง วงปี่พาทย์ยังแบ่งไปได้อีกคือ วงปี่พาทย์ชาตรี,วงปี่พาทย์ไม้แข็ง,วงปี่พาทย์เครื่องห้า,วงปี่พาทย์เครื่องคู่,วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่,วงปี่พาทย์ไม้นวม,วงปี่พาทย์มอญ,วงปี่พาทย์นางหงส์

๑.๑ วงปี่พาทย์นางหงส์
    วงปี่พาทย์นางหงส์ คือวงปี่พาทย์ชนิดหนึ่งที่นำเอาวงปี่พาทย์ไม้แข็งมาประสมกับวงบัวลอย โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบดังนี้
  • ใช้กลองมลายูมาตีแทนตะโพนและกลองทัด(บางที่ก็ใช้กลองทัดแทนกลองมลายู)

  • ใช้ปี่ชวามาเป่าแทนปี่ใน

  • เอาฆ้องเหม่งออก เพราะมีฉิ่งเป็นตัวควบคุมจังหวะแล้ว

  •     เหตุที่ใช้ชื่อวงปี่พาทย์นี้ว่าวงปี่พาทย์นางหงส์ก็เนื่องจากเรียกตามชื่อเพลงที่เล่นคือเพลงเรื่องนางหงส์ โดยจะใช้เล่นเฉพาะงานอวมงคลเท่านั้น ปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่นิยม เพราะได้หันมานิยมวงปี่พาทย์มอญแทน
        วงปี่พาทย์นางหงส์ เดิมเป็นวงที่ใช้บรรเลงในงานศพของสามัญชน ต่อมาได้นำมาบรรเลงในงานสวดพระอภิธรรมศพเจ้านาย และใช้ในตอนถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระศพ เมื่อครั้งงานพระบรมศพของสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระประสงค์ให้นำวงปี่พาทย์นางหงส์ ของกรมศิลปากรมาประโคมย่ำยาม ต่อจากวงประโคมของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง จึงนับเป็นครั้งแรกที่ได้นำวงปี่พาทย์นางหงส์มาใช้ในงานพระบรมศพด้วย


    ๑.๒ วงปี่พาทย์เสภา
        วงปี่พาทย์เสภาเป็นวงดนตรีไทยชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒
    ในยุคแรกจะมีผู้ขับเสภาเป็นเรื่องราวต่างๆ พร้อมกับขยับกรับให้สอดประสานกับบทจนจบเร่อง ต่อมาได้มีดนตรีเข้ามาบรรเลงประกอบ แต่จะบรรเลงเฉพาะช่วงที่แสดงอารมณ์ต่างๆของตัวละคร ภายหลังได้นำบทเสภาบางตอนมาร้องส่งและให้วงปี่พาทย์รับ ในยุคต่อๆมา การขยับกรับเสภาที่เป็นเรื่องเป็นราวจึงค่อยๆหายไป คงเหลือแต่การนำบทเสภามาร้องส่งและให้วงปี่พาทย์รับ
        วงปี่พาทย์เสภาคล้ายกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง เพียงแต่เอาตะโพนกับกลองทัดออกและใช้กลองสองหน้าเป็นตัวกำกับหน้าทับแทน
    รูปแบบในการเล่น
    รูปแบบของการบรรเลงมีดังนี้
    1. รัวประลองเสภา
    2. โหมโรงเสภา(เช่นโหมโรงอัฐมบาท โหมโรงพม่าวัด ฯลฯ)
    3. เพลงพม่า 5 ท่อน
    4. เพลงจระเข้หางยาว
    5. เพลงสี่บท
    6. เพลงบุหลัน
    7. เพลงประเภทเพลงทยอย เช่นเพลงทยอยนอก แขกลพบุรี หรือไม่ก็ต่อด้วยเพลงตับเรื่องต่างๆ
    8. เพลงลาเช่นปลาทอง พระอาทิตย์ชิงดวง

    ปล.ยกตัวอย่างมาเพียง 2 วงปี่พาทย์ ต้องขออภัยด้วยนะครับ



    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น